สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์หลายกลุ่ม ร่วมจัดกิจกรรมออกร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือ สินค้าออร์แกนิก กันอย่างคึกคัก สอดคล้องกับกระแสการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเมือง ขณะที่ภาคประชาสังคมบางกลุ่มเคลื่อนไหวมากกว่านั้น เช่น กลุ่มสวนผักคนเมือง ที่รณรงค์การใช้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัดในเมือง สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองที่บ้าน เพื่อลดการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ กลุ่มปฏิรูปกฎหมายที่ดิน เจ้าของโครงการ รูท การ์เด็น ทองหล่อ ที่ต้องการส่งเสริมการใช้ที่ดินรกร้างในเมืองให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนส่งเสริมวิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน
วิจัยยืนยัน อาหารออร์แกนิคดีกว่าจริง

งานวิจัยล่าสุดที่ทำการศึกษาข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ทั่วโลกอย่างละเอียดยืนยันว่า อาหารออร์แกนิคดีกว่าอาหารที่ผลิตโดยระบบเกษตรที่ใช้สารเคมีจริง โดยเฉพาะในผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช ที่เพาะปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนตี้ออกซิแดนท์) สูงกว่าถึง 60%
เว็บไซต์ของ Soil Association (สมาคมปฐพี) ในประเทศอังกฤษ [link] ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านโภชนาการของอังกฤษ British Journal of Nutrition ซึ่งเป็นวิจัยที่ได้รวบรวมและศึกษาผลงานวิจัยต่างๆ ที่มากที่สุด โดยทีมนักวิจัยจากทั่วโลก ที่นำทีมโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) ในประเทศอังกฤษ โดยการศึกษานี้เป็นการทบทวนผลการศึกษาของงานวิจัยต่างๆ จำนวน 343 งานวิจัย ที่เป็นการวิจัยที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) และมากกว่าครึ่งของงานวิจัยที่นำมาศึกษาเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่หลังปี พ.ศ. 2549 (เป็นงานวิจัยใหม่ๆ) และใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ก้าวหน้าและมีความหน้าเชื่อถือ (เช่น มีการให้น้ำหนักระหว่างงานวิจัยขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีเกณฑ์ในการประเมินที่ชัดเจน ไม่ใช้ผลการวิจัยที่เป็นการทดลองซ้ำมาเปรียเทียบ เป็นต้น)
IFOAM กับอนาคต...ข้าวเกษตรอินทรีย์ไทย

สินค้าเกษตรอินทรีย์ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่มีอนาคต ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาห กรรมเกษตรทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 20-30 ต่อปี โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่มีแนวโน้มการส่งออกที่แจ่มใสคือ ข้าว กาแฟ พืชผัก ผลไม้ เครื่องเทศและสมุนไพร โดยเฉพาะข้าวที่ มีคำสั่งซื้อจากตลาดสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง และผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายชุมชนรับรองเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มเยาวชนและเกษตรกรผู้ผลิต “ข้าวจิ๊บ” ชุมชนบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ เป็นหนึ่ง ในชุมชนที่จัดตั้งกลุ่มเพื่อ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้สารเคมีมาเป็น การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคม และได้เข้าร่วมอบรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยวิทยากรจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) มาให้ความรู้ในเรื่องระบบ ประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM และการขอรับรองแบบกลุ่ม และได้ทดลองฝึกตรวจรับรองในแปลงนาตัวอย่าง คาดว่าหากกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้จะสามารถผลิต “ข้าวจิ๊บ” อินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง หวังเพิ่มการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ไทยสู่ตลาดโลก และสามารถจัดจำหน่ายได้ภายในประเทศพร้อมออกสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชน โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 24-25 เม.ย. 57 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ชุมชนบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
ราชบุรีเร่งเครื่อง"เมืองเกษตรสีเขียว" ยกมาตรฐานพืชผัก2.3หมื่นไร่ รุกส่งออก
คิกออฟไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับโครงการ "เมืองเกษตรสีเขียว" (Green Agriculture City) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ 13 หน่วยงาน คัดเลือก 6 จังหวัดนำร่องที่มีศักยภาพด้านการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีสินค้าเกษตรที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิประเทศ สำหรับพื้นที่ 6 จังหวัดนำร่องประกอบด้วย 1.จังหวัดเชียงใหม่ มีความโดดเด่นในการผลิตผลไม้และพืชผักเมืองหนาว 2.จังหวัดศรีสะเกษ โดดเด่นในการผลิตข้าว พืชผัก และผลไม้ 3.จังหวัดจันทบุรี โดดเด่นในการผลิตผลไม้เมืองร้อนและการประมง 4.จังหวัดราชบุรี โดดเด่นในการผลิตปศุสัตว์และพืชผัก 5.จังหวัดหนองคาย โดดเด่นเกษตรอินทรีย์และการค้าชายแดน และ 6.จังหวัดพัทลุง โดดเด่นการผลิตเกษตรผสมผสาน โดยในปี 2557 ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการทั้งสิ้น 440 ล้านบาท
ข่าวดีคนชอบผลไม้!! ผลวิจัยกินส้มโอ ช่วยต้านไขมันสูง
รศ.สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย ว่าได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศึกษาเรื่องส้มโอพบว่า นอกจากสารอาหารต่างๆ แล้ว ส้มโอยังมีสารพฤกษเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็มีสิ่งที่ต้องระวังคือน้ำตาล จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยที่มีไขมันสูง ทั้งนี้ เลือกศึกษาส้มโอ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ ขาวใหญ่ ขาวน้ำผึ้ง ทองดี ขาวแตงกวา ท่าข่อย และทับทิมสยาม